วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2556
การเรียนรู้และการสื่อความหมาย
เทคโนโลยีและนวัตกรรามทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ให้ดีที่สุด
ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ
องค์ประกอบการเรียนรู้
1.แรงขับ(Drive)
2.สิ่งเร้า(Stimulusป)
3.การตอบสนอง(Response)
4.การเสริมแรง(Reinforcement)
1.แรงขับ(Drive) คือ ความต้องการที่เกิดภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2.สิ่งเร้า(stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคคลแสดงการตอบสนองออกมา
3.การตอบสนอง(Response) เป็นพฤติกรรมต่างๆดที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง(Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของกลุ่มและคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
1.ด้านพุทธินิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบ
คลุมพฤติกรรมประเภทความจำ ความเข้าใน การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล
2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนติ และ
ค่านิยม
3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการ
ปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
1.ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำ
ให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2.ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3.การนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้
เช่น Bloom,
Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น