วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

System

Input *โรงงานน้ำตาล *เครื่องจักร *วัตถุดิบ *แรงงาน *เงินทุน

Process * การสกัดน้ำอ้อย *การทำความสะอาดน้ำอ้อย *การต้มให้ได้น้ำเชื่อม *การเคี่ยวให้เป็นผลึก

และกาก *การปั่นแยกผลึกน้ำตาล *การอบ *การบรรจุถุง

Output * น้ำตาลทราย *กากน้ำตาล 

ความสำคัญของสื่อการสอน

     ๑.เป็นเครื่องช่วยในการสอน เมื่อนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้สอนตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น

     ๒.เป็นเครื่องช่วยในการเรียนของผู้เรียน ผู้เรียนใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ

     3.เป็นเครื่องช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการสอนช่วยเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจากผู้บอกความรู้มาเป็นผู้จัดการและกำกับดูแล คอยชี้แนะให้กับผู้เรียน

     4.เป็นเครื่องช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา สื่อการสอนสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น ผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน

     คุณค่าของสื่อการสอน

     คุณค่าทั่วไปของสื่อ

     ๑.๑ ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น

     ๑.๒ ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

     ๑.๓ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง

     ๑.๔ ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น

     ๑.๕ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา

     ๑.๖ ทำสิ่งที่เล็กมาให้เห็นได้ชัดขึ้น

     ๑.๗ นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน

     ๑.๘ นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้

ประเภทของสื่อการสอน

     โดยที่วไปแล้ว นักเทคโนโลยีทางการศึกษามักนิยมจำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์)

     .อุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยินได้ เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเล่นเทป เป็นต้น

     ๒.วัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกได้ ๒ ลักษณะ
          
          ๒.๑ วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้ัน

          ๒.๒ วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น

     ๓.เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็นสำคัญอาจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้

สื่อการสอน *ลูกศร* เทคโนโลยีการศึกษา

...ตัวกลางที่ทำให้ความเป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรม

...ตัวกลางของการสื่อสารและกระบวนการเรียนการสอน

เทคโนโลยีการศึกษา

* วิธีการใช้ที่เกิดประโยชน์

* เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลความรู้

* โดยเน้น (เชี่ยส์ส์ส์ส์ รีบไปไหนว่ะ ไม่ทัน)

ชแรมม์ (Schramm)

     ได้จำแนกสื่อตามความเก่าใหม่ของการเกิดเป็น ๔ รุ่น ดังนี้

          ๑.รุ่นทวด ได้แก่ กระดานชอล์ก การสาธิต การแสดงละคร

          ๒.รุ่นปู่ ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เกิดขึ้นหลังปี ค.ศ.๑๔๕๐

          ๓.รุ่นพ่อ ได้แก่ 

สื่อเทคโนโลยีการศึกษา EDUCATIONAL TECHNOLOGY MEDIA

     สื่อสามมิติ (THREE-DIMENSION MEDIA)

          * ของจริง (REALIA)

          * ของตัวอย่าง (SPECIMEN)

          * หุ่นจำลอง (MODEL)

          * หุ่นตัดแบบ (MOCK-UP)

     สื่อ ๒ มิติ (TWO-DIMENSION MEDIA)

          * สื่อทึบแสง (OPAQUE MEDIA)

           - รูปภาพ (PICTURE)

          * สื่อโปร่งใสนิ่ง (STILL - TRANSPARENT MEDIA)

           - แผ่นโปร่งใส (TRANSPARENCY)

           - สไลด์

     สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC MEDIA)

          * เทปวีดิทัศน์ (VIDEOTAPE)

          * แผ่นวีดิทัศน์  (VIDEODISC)

          * คอมพิวเตอร์ (COMPUTER)

          * เทปเสียง (AUDIOTAPE)

          * แผ่นเสียง (AUDIO-DISC)

สื่อการสอน

Motion Media

Text

Audio เสียง จะเป็นวิทยุ เป็นต้น

Visuals ภาพ ต่าง ๆ สไลด์

Object วัสดุสำหรับอ่าน หรือที่เป็นแบบ โมเดลต่างๆ *ชั้นเรียนเสมือน เวอร์ชัว เรียลลิตี้

Computer ทำให้สื่อที่เป็น โฟโต้กราฟ เป็น???


แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา

สื่อการสอนใน ศรวรรษที่ ๒๑

Digital Video Interactive

Desktop publishing

Digital Audio

Virtual Reality 

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการสื่อสาร

เทคโนโลยี ???

แนวโน้มของสื่อ และเทคโนโลยี

* ขนาด : สื่อขนาดเล็ก

* ระบบ : การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการรับส่งข้อมูล

!!! สิ้นสุดการนำเสนอ Oh Fuck !!!

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 7 มกราคม 2557

System

     ระบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกันกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันแต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญแต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน

A set of elements or components that interact to accomplish goals.
(Stair, Ralph M. 1996)

A group of interrlated or interacting elements forming a unified whole.

Example of system



ลักษณะของระบบเชิงกายภาพ

        1. ปัจจัยนำเข้า
        2. กระบวนการ
        3. ผลลัพธ์

Input > Process > Output


ประเภทของระบบ

1. ระบบปิด (Closed System)  ระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อกับระบบอื่นๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร



2. ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เช่ ATM กดเงิน 5000 ออกมา 2000 ทำให้เราต้องติดต่อระบบที่ธนาคาร นั่นเอง

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2556

    
         ระดับการเรียนรู้ของ Bloom

                    1.ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
                    2.ความเข้าใจ (Comprehend)
                    3.การประยุกต์ (Application)
                    4.การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา
                    5.การสังเคราะห์ (Synthesis)
                    6.การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้

          การเรียนรู้ตามทฤษฏีของ Mayer
    
     ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งที่สำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
                    1.พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
                    2.เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
                    3.มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
         
          การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner

                    1.ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
                    2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
                    3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
                    4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
                    5.ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
                    6.เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

          การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor

                    1.การต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
                    2.การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
                    3.บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์การเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนเพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
                
          การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
         
                    1.การจูงใจ (Motivation Phase)
                    2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending)
                    3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
                    4.ความสารถในการจำ (Retention Phase)
                    5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
                    6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
                    7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
                    8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
        
     การเรียนรู้เริ่มคิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้
    
          การรับรู้ (Perception)

     การรับรู้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอย่กับการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วยประสาทสัมผัสและปัจจัยทางจิตได้แก่ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น

          หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ


          1.การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู่สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องและเหมาะสม
          2.การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
          3.ลักษณะและวิธีการรับรู้ของแต่ละคน จะแตกต่างกันตามพื้นฐานของบุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับและเจตคติของเขา
          4.การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะและสภาพแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน
       
          การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

          1.ธอร์นได้ค์ (Thorndike) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้งหลายจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และ เจตคติ ที่สัมพันธ์กันกับสถารการณ์เดิม
          2.เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหาและรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม
       
          หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้
       
          1.การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ ความคิด เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
          2.ผู้สอนควรใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวางซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
          3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว
          4.

          การสื่อความหมาย (Communication)

          การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน การสื่อความหมายมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication
           การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจน ประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"

          การสื่อความหมาย เป็นการส่งข่าวสารความคิดเห็นระหว่างบุคคล อาจส่งผ่านทางเสียง ทำให้ เกิดการได้ยินจากอวัยวะการรับเสียง เช่น เสียงพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงลมพายุ หรือสิ่งที่ส่งออกมาเป็นภาพ เห็นด้วยตา เช่น การเขียนเป็นหนังสือ รูปภาพ สัญญาณต่างๆเช่น สัญญาณไฟ ท่าทางต่างๆรวมทั้งการส่งข่าวสารที่ผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆของมนุษย์ด้วย

          โครงสร้างและองค์ประกอบของกระบวนการสื่อความหมาย

          การบวนการสื่อความหมายจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบ ดังนี้
       
          1.ผู้ส่ง (Souree or Sender) คือ แหล่งกำเนิดสารหรือบุคคลที่มีเจตนาจะส่งสารไปยังผู้รับ สัตว์ องค์การ หรือ หน่วยงาน
          2.สาร (Message) คือ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
          3.ช่องทาง (Channel) คือ ช่องทางต่างๆที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยอาศัยสื่อต่างๆ เป็นพาหนะ เช่น รูป เสียง ความรู้สึกสัมผัส กลิ่น รส เป็นต้น
          4.ผู้รับ (Receiver) คือ บุคคล องค์การ หรือหน่วยงานที่รับรู้สารจากผู่ส่งเข้าสู่ตนเองโดย

     พจนานุกรมการศึกษาของ คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการสื่อความหมายไว้ 3 ความหมาย

          1.วิธีส่งความคิดเห็น ความรู้สึกจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดดยการแสดงท่าทาง สีหน้า การพูด การเขียน ใช้โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์และสัญญาณอื่นๆ
          2.การใช้เครื่องมือและกระบวนการ เทคนิคการพูด การใช้ภาษาในการสื่อความหมาย และการใช้โสตทัศน์ในการสื่อความหมาย
          3.กระบวนการสังคมมนุษย์ ใช้การติดต่อสื่อสาร ความคิด

          การสื่อความหมายกับการเรียนการสอน (ไม่ทัน)

          การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่งเพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ

          จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมาย (ไม่ทัน)

          จุดมุ่งหมายสำคัญในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน หากการสื่อ

          ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้

          จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียมและเลือกกสารในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการนำนักเรียนให้คิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสารประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุด และครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้นอกเหนือการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอนนั่นเอง

          สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย

          จากที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติที่กระทำซ้ำบ่อยๆ ซึ่งการที่มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต้องมีการรับรู้ก่อนซึ่งเราสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเราคิดกระบวนการทั้งสองอย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"
         

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2556

การเรียนรู้และการสื่อความหมาย
    
     เทคโนโลยีและนวัตกรรามทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน
    
     ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ให้ดีที่สุด

ความหมายของการเรียนรู้
  
     การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ

องค์ประกอบการเรียนรู้

1.แรงขับ(Drive)       
2.สิ่งเร้า(Stimulusป)       
3.การตอบสนอง(Response)       
4.การเสริมแรง(Reinforcement)


     1.แรงขับ(Drive) คือ ความต้องการที่เกิดภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป

     2.สิ่งเร้า(stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคคลแสดงการตอบสนองออกมา


     3.การตอบสนอง(Response) เป็นพฤติกรรมต่างๆดที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า

     4.การเสริมแรง(Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ



จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของกลุ่มและคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้

     1.ด้านพุทธินิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบ

คลุมพฤติกรรมประเภทความจำ ความเข้าใน การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล

     2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนติ และ

ค่านิยม

     3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการ

ปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ


ลำดับขั้นของการเรียนรู้

     ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

     1.ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำ
ให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ

     2.ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล

     3.การนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้

ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
    

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

          ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆพอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

     1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

          -การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
          -แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
          -เครื่องสอน (Teaching Machine)
          -การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
          -การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
          -คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

     2.ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

          -ศูนย์การเรียน (Learning Center)
          -การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
          -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

     3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทักวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอน เป็นภาคเีรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งใช้เวลาไม่เท่ากับบางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆแต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สอนงแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

          -การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
          -มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
          -แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)
          -การเรียนทางไปรษณีย์
     4.ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

          -มหาวิทยาลัยเปิด
          -หารเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
          -การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
          -ชุดการเรียน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
          E-learning


วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556

นวัตกรรม (Innovation)

     นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่า นวัตกรรม ที่รูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตฺต + กรรม
นว     แปลว่า ใหม่
อัตต   แปลว่า ตัวเอง
กรรม  แปลว่า การกระทำ
    นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือการกระทำของตนเองใหม่

    *ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้วโดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น(Invention)พัฒนาการ(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความหมายแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมาและเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

     *มอตัน (Morton, J.A.) ได้ให้นิยามของนวัตกรรมว่า หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

     *ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B.) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล

    * กิดานันท์ มลิทอง ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลได้ดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย 

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ
          ระยะที่ ๑ มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรับปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
          ระยะที่ ๒ พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
          ระยะที่ ๓ การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมชั้นสมบูรณ์

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

          นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึงการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน

ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (     Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)

ความหมายของเทคโนโลยี

          การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆเหล่านั้น

เทคโนโลยีทางการศึกษา
(Educational Technology)

          ตามรูปศัพท์ เทคโน(วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
๑.วัสดุ
๒.อุปกรณ์
๓.วิธีการ
          สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการพัฒนา และประยุกต์ระบบ เทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของตนให้ดียิ่งขึ้น
     *ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุ เครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
     *Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ

แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

          เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดู หูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟัง และการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนศึกษา
          เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่าซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น ๒ ประการ
          ๑.ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่นๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ โสตทัศนศึกษา นั่นเอง
          ๒.ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

          ๑.การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษาต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น คน วัสดุและเครื่องมือ และเทคนิค-วิธีการ
   ๑.๑ คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งนอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
   ๑.๒ วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวีดีโอเทปของจริง ของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
   ๑.๓ เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหาแก่ผู้เรียน ปัจจุบันการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
   ๑.๔ สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใดๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
          ๒.การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นขึ้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรม ซึ่งทำหน้าที่สอนซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นกลุ่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆอย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          ๓.การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ

          ๔.พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้นไปอีก

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2556

Innovation = นวัตกรรม ,, แต่ก่อนเรียกว่า นวกรรม

ความหมาย 3 นัยยะ คือ
1. ทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
2. ประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาใหม่
3. การผสมผสานระหว่างใหม่เอี่ยมถอดด้ามกับมีแล้วแต่ต่อยอด

educational technology = เทคโนโลยีทางการศึกษา

สื่อมี 3 ประเภท
1. สื่อประเภทวัสดุ (Software) เช่น สไลด์ , ฟิล์มภาพยนตร์ , บัตรคำ(word card) , แผ่นโปร่งใส(transparency) , ไมโครฟิล์ม(microfilm)
2. สื่ออุปกรณ์ (Hardware) เช่น..
-เครื่องฉายภาพยนตร์
-เครื่องฉายสไลด์
-คอมพิวเตอร์
-เครื่องฉาย LCD (Liquid Crystal Display)
3. เทคนิควิธีการ (technic , technique)